เมนู

2. ปุณณิยสูตร


[188] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณิยะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่บางครั้งพระธรรมเทศนาแจ่มแจ้ง
กะพระตถาคต บางครั้งไม่แจ่มแจ้ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มี
ศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหาเพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่
แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา
เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ
ภิกษุผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้เพียงใด ธรรม
เทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้
มีศรัทธา...และเข้าไปนั่งใกล้ เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อม
แจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และเข้าไปนั่งใกล้
แต่ไม่สอบถามเพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้ง
เพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และสอบถาม เมื่อนั้น
ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มี
ศรัทธา... และสอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตลงสดับธรรมเพียงใด ธรรม-
เทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้
มีศรัทธา... และเงี่ยโสตลงสดับธรรม แต่ฟังธรรมแล้วไม่ทรงจำไว้
เพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด

ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และฟังแล้วทรงจำไว้ เมื่อนั้น ธรรมเทศนา
ของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา...
และฟังแล้วทรงจำไว้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
เพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุ
เป็นผู้มีศรัทธา... และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
แต่ไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเพียงใด
ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุ
เป็นผู้มีศรัทธา... และรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่
ธรรม เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ
ธรรมเทศนาของตถาคต มีปฏิญาณโดยส่วนเดียว อันประกอบด้วย
ธรรมเหล่านี้แล ย่อมแจ่มแจ้ง.
จบ ปุณณิยสูตรที่ 2

อรรถกถาปุณณิยสูตรที่ 2


ปุณณิยสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า สทฺโธ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยศรัทธา 2 อย่าง. บทว่า
โน จ ปยิรุปาสิตา แปลว่า ไม่เข้าไปบำรุง. บทว่า โน จ ปริปุจฺฉิตา